Home

เมื่อการทำไร่ ทำสวน กลายเป็นภารกิจสำคัญของคนรุ่นใหม่ในนาม ‘Young Smart Farmer’ เหล่าอเวนเจอร์เวอร์การเกษตร ‘ผู้นำเกษตรกรยุคใหม่’ ที่จะสร้างเครือข่าย เชื่อมโยงชุมชน ยกระดับสินค้าเกษตรสู่ตลาดยุค 4.0 🎉🎉

ก่อนที่จะเข้าสู่ Case Study ของเกษตรกรยุค 4.0 เรามาทำความรู้จักกันก่อนว่า Young smart farmer คืออะไร ?

Young Smart Farmer หรือ YSF โครงการที่ริเริ่มโดยกรมส่งเสริมการเกษตรและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีเป้าหมายที่จะพัฒนาคนรุ่นใหม่ที่มีใจรักการเกษตร ให้รู้จักบริหารจัดการการเกษตรด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถต่อยอดไปสู่การเป็นผู้ประกอบการที่สามารถพึ่งพาตนเอง และเป็นผู้นำทางการเกษตรในท้องถิ่นได้ ซึ่งเป็นการผลักดันเกษตรกรรุ่นใหม่ให้เป็นผู้นำด้านเกษตร 4.0 ด้วยภารกิจ ‘เจ้าของศูนย์บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่’ เพื่อเป็นจุดเชื่อมโยงเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกษตรกรรุ่นใหม่ หรือ YSF ทั่วประเทศนั่นเองค่าาา 😎😎

มาต่อกันที่ Case Study ของเกษตรกรซึ่งเป็นสมาชิกในกลุ่ม Young Smart Farmer จังหวัดมหาสารคาม มาดูกันว่าพวกเขาเหล่านี้ มีแนวคิด ความสำเร็จด้านการทำเกษตรและเข้าสู่กลุ่ม Young Smart farmer กันได้อย่างไร มาดูกันเลย

Case Study ของเกษตรกรยุค 4.0

ชีวิตมนุษย์เงินเดือนแต่ละวันช่างน่าเบื่อ มีมนุษย์เงินเดือนไม่น้อยที่ท้อแท้กับปัญหารถติดทั้งเช้า และเย็น ค่าครองชีพแสนแพง ความวุ่นวาย และจริตมากมายในเมืองกรุง คิดถึงชีวิตสโลว์ไลฟ์ที่ต่างจังหวัด ปลูกผัก เลี้ยงปลา ทำการเกษตร ใช้ชีวิตสบาย ๆ ได้ทุกวัน แต่ฝันก็ต้องสลาย เพราะคิดว่ามันคงเป็นไปไม่ได้ที่จะเสี่ยงทิ้งเงินเดือนหลายหมื่น กลับไปทำการเกษตรที่ต่างจังหวัด “ไม่รอดชัวร์”

แล้วคนที่ลาออกจากมนุษย์เงินเดือน ไปเป็นเกษตรกรแล้วรุ่ง มีรายได้มากกว่าเดิม เพิ่มเติมคือชีวิตสโลว์ไลฟ์ เค้าทำยังไงกันล่ะ ?

มาลองดู Case Study ของเกษตรกรยุค 4.0 ที่ยอมลาออกจากการเป็นมนุษย์เงินเดือนสูง ๆ ผันตัวเองสู่อาชีพเกษตรกร แล้วประสบความสำเร็จ พลิกความเชื่อที่ว่ายุคนี้ทำการเกษตรแล้วไม่เวิร์ค !!

ท่านแรก ว่าที่ ร.ต.ธนาพัฒน์ เที่ยงภักดิ์

ว่าที่ ร.ต.ธนาพัฒน์ เที่ยงภักดิ์ (คุณโตชิ) อายุ 28 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาโท อดีตเจ้าหน้าที่ไอที ผันตัวมาทำเกษตร ในรูปแบบแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร คุณธนาพัฒน์ ให้สัมภาษณ์ว่า “ก่อนจะผันตัวมาเป็นเกษตรกร ในกลุ่ม Young Smart farmer เคยทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ไอที ในมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม แต่ด้วยความที่คิดว่าตนเองนั้น เป็นลูกเกษตรกร เห็นการทำเกษตรมาตั้งแต่เด็ก จึงเล็งเห็นว่างานที่ทำในปัจจุบัน ไม่เหมาะกับตัวเอง จึงผันตัวมาทำการเกษตร แต่เกษตรก็มีหลายรูปแบบ จึงคิดต่างและทำเป็นเกษตรเชิงท่องเที่ยว นั่นก็คือ “ไร่พารวย” ตั้งอยู่ที่ บ้านโนนตาล ต.ท่าสองคอน อ.เมือง จ.มหาสารคาม ก่อตั้งธุรกิจนี้มาเป็นระยะเวลา 4 ปีโดยประมาณ เพื่อให้คนมาพักผ่อนท่องเที่ยว ธุรกิจนี้สามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัว ทำรายได้ต่อปีสูงถึง 150,000 บาท ” ซึ่งคุณธนาพัฒน์มีแนวคิดในการทำการเกษตรว่า “พัฒนาตนเอง และสร้างรายได้ในชุมชนผลิตภัณการแปรรูปสินค้าทางการเกษตรโดยมีวิจัยรับรอง สร้างจุดจำหน่ายสินค้าให้กับเครือข่าย” ผลิตภัณฑ์การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของไร่พารวยที่เด่นๆ นั่นคือ ไวน์ผลไม้ มีผลไม้จากผลผลิตของไร่กว่า 14 ชนิด ซึ่งชนิดที่เด่นๆ นั่นก็คือ ไวน์มัลเบอรี่ ไวน์มะนาว นั่นเอง หากท่านใดต้องการที่จะไปท่องเที่ยวที่ไร่พารวย ก็สามารถไปท่องเที่ยว พักผ่อนได้ ไร่พารวยตั้งอยู่ที่ บ้านโนนตาล ต.ท่าสองคอน อ.เมือง จ.มหาสารคาม ห่างจากตัวเมืองมหาสารคามเพียง 15 กม. ร้านเปิดเวลา 10.00 – 20.00 น. หยุดทุกวันจันทร์ หากท่านใดอยากสอบถาม ก็สามารถติดต่อได้ที่ Facebook page : ไร่พารวย มหาสารคาม หรือโทรติดต่อที่เบอร์ 098-5859899

ท่านที่ 2 คุณวุฒินันต์ โททุโย (คุณเด่น)

คุณวุฒินันท์ โททุโย อายุ 39 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี อดีตเป็นเจ้าหน้าที่ในกรมปศุสัตว์ จังหวัดมหาสารคาม ปัจจุบันเกษตรกรในกลุ่ม Young Smart Farmer เป็นรองประธานกลุ่ม Young Smart Farmer อำเภอโกสุมพิสัย และกำลังจะเข้าสู่ Smart Farmer อย่างเต็มตัว คุณเด่นยึดหลักเศรษกิจพอเพียงตามรอยพ่อหลวง และมีกินมีใช้อย่างพอเพียง

ท่านที่ 3 คุณธีรสิทธิ์ บำรุงสุข (คุณโอ๊ต)

ท่านที่ 4 คุณบรรจง แสนยะมูล

 คุณบรรจง แสนยะมูล Smart Farmrt จ.มหาสารคาม

Q ; เปลี่ยนแปลงความคิด พิชิตความยากจน ทำไมเราต้องเปลี่ยนแปลงความคิด .. ?

A; ผมคิดว่าถ้าเราไม่ยอมเปลี่ยนแปลงตัวเอง เราก็จะอยู่แบบนี้ตลอดไป สำคัญคือเราจะอยู่อย่างนี้ต่อไปได้สักเท่าไหร่ ในเมื่อสังคมภายนอกมันเปลี่ยนไป วิถีชีวิตก็เปลี่ยนไปแม้กระทั่ง ดิน ฟ้า อากาศ ก็เปลี่ยนไป การทำเกษตรก็เปลี่ยนไปตามกาลเวลาและสถานการณ์ เพื่อความอยู่รอดเราก็ต้องปรับเปลี่ยนตาม…..แนวความคิดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะพาเรารอด … แนวคิดแรกที่เกิดขึ้น คือการศึกษาหาความรู้ ลงมือปฎิบัติ ทดลองทำ ทดลองปลูก ในสิ่งที่คิดว่าทำเองได้

1. ปลูกมะนาวกินเอง จะแพงก็แพงไป เราไม่ต้องซื้อ สบายกระเป๋ามา 2 ปีแล้ว

 2. ปลูกพริกไว้สักต้น กินได้ทั้งปีครับ ใครที่ชอบกินเผ็ด ไม่ควรพลาด

3. ปลูกชะอม ไว้ทานเป็นผักปลอดสารพิษอย่างดี ที่เห็นอยู่นี่เก็บทุกๆ 2 วัน

’ จุดกำเนิดไร่แสนดี มาจากมะนาวและพริกต้นนั้น ‘’ ซึ่งปลูกในล่องปูนแตกหน้าบ้าน

ปรัชญาของไร่ก็คือ เปลี่ยนแปลงความคิด พิชิตความยากจน ลดต้นทุนขบวนการผลิต ด้วยน้ำหมักชีวภาพ ใช้พลังงานทดแทนด้วยกังหันลมสูบน้ำบาดาล  น้ำบ่อ ใช้สารสกัดธรรมชาติไล่แมลง โดยยึดหลักการของ Kaizen มาเป็นแนวคิด ซึ่งสอดคล้องกับความพอดีและพอเพียง จากสิ่งเล็กๆ น้อยๆ เมื่อทำได้สำเร็จเกิดความมั่นใจ จึงมั่นศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากปราชญ์ผู้รู้และได้มีแนวคิดที่อยากจะถ่ายทอดสู่คนอื่นๆ เพื่อเป็นแนวทาง จึงตัดสินใจทำแปลงทดลองขึ้นในพื้นที่ 29 ไร่

ไร่แสนดี ปลูกอะไรบ้าง ณ. วันนี้

1.ปลูกไผ่ตงลืมแล้ง ปลูกง่าย โตไว ทนแล้ง ทนน้ำท่วม หน่อดกใหญ่ ปลูก 5 เดือนแทงหน่อแล้ว

2.ปลูกไผ่เลี้ยงสีทอง รสชาติอร่อยมาก เหมาะสำหรับการทำนอกฤดู เก็บขายได้ทั้งปี

3. ปลูกกล้วย

4.ปลูกมะนาว ทั้งพันธุ์ตาฮิติ    แป้นพิจิตร1   แป้นพ่วง และการทำมะนาวบนตอมะขวิด

5.ปลูกพืชผสมผสานทั้ง มะม่วง น้อยหน่า ละมุด ขะขามเปรี้ยวยักษ์ ขนุน ข่า ตะไคร้ มะละกอ ฝรั่ง

ผลงานความสำเร็จ

พ.ศ. 2556 เป็นศูนย์เรียนของ สปก. มหาสารคาม

พ.ศ. 2557 เป็นศูนย์เรียนรู้ของ อบต.หัวขวาง

พ.ศ. 2558 ได้รับรางวัลโครงการเชิดชูเกียรติ การขับเคลื่อนแนวทางเกษตรพอเพียง   เกษตรกรดีเด่นเดือน พฤษภาคมจากนายอำเภอโกสุมพิสัย

พ.ศ. 2559  เป็นศูนย์เรียนรู้ของสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดมหาสารคาม

พ.ศ. 2560  เป็นศูนย์เรียนรู้ของสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดมหาสารคาม เป็นศูนย์ถ่ายทอดด้านเทคโนโลยี่ของพัฒนาที่ดินจังหวัดมหาสารคาม

พ.ศ. 2561 เป็นศูนย์เครือข่ายด้านประมงจังหวัดมหาสารคาม ได้รับรางวัลโครงการเชิดชูเกียรติ การขับเคลื่อนแนวทางเกษตรพอเพียง  คนดีศรีอีสาน ระดับจังหวัดมหาสารคาม จากวัฒนธรรม จ.มค.

พ.ศ. 2562 เป็นศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดมหาสารคาม

จุดเริ่มต้นที่ดำเนินการทำให้ครอบครัวลำบากมาก เนื่องจากอุปสรรคนานาประการ  พื้นที่เป็นที่ดอนไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติ ไม่มีไฟฟ้า-ประปาใช้ ถนนทางเข้าสวรลำบากมาก

แนวทางสู่การพัฒนา  จากที่ได้ศึกษาดูงาน อบรม  ฝึกปฏิบัติจริง ค้นคว้า ลองผิดลองถูก จึงได้พยายาม ขยันหมั่นเพียร ไม่ท้อต่ออุปสรรค  สร้างเงื่อนไขสู่ความสำเร็จ และสร้างการมีส่วนร่วมในครอบครัว

                –  ประชุมครอบครัวเพื่อสร้างความเข้าใจ  สร้างความสามัคคี  เสนอความคิดเห็น แก้ปัญหาร่วมกัน

                –  สรุปบทเรียน   เพื่อให้ทุกคนเข้าใจถึงการดำเนินชีวิตที่ผ่านมาจากอดีด-ปัจจุบันว่าอะไรเป็นอย่างไร

                –  วิเคราะห์ตนเอง/ครอบครัว  เพื่อให้รู้ว่าแต่ละคนมีอะไรดี อะไรไม่ดี  สิ่งที่ไม่ดี แก้ไขอย่างไร สิ่งที่

                ดีจะนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร

             –  สร้างโอกาส  เพื่อหาช่องทางสร้างประโยชน์ให้กับครอบครัว ศึกษาข้อมูลชุมชน ความเป็นอยู่ การบริโภคของประชาชน เช่น (ประชาชนส่วนใหญ่ซื้ออาหารกิน ก็ผลิตอาหารขาย เกษตรกรซื้อพันธุ์พืช/พันธุ์ผักปลูก เป็นต้น)

                – วางแผนชีวิต    เราต้องกำหนดอนาคตเองว่าจะเดินไปอย่างไร แค่ไหน ถึงตรงไหนพึ่งตนเองให้ได้

– แผนการผลิต   ช่วงฤดูกาลไม่เหมือนกัน ต้องบริหารจัดการให้ดี เช่นช่วงผลผลิตออกมากราคาต่ำก็หันไปผลิตสิ่งที่ออกน้อยราคาสูง หรือเพิ่มมูลค่าในสิ่งนั้น เป็นต้น

                – แผนการตลาด  จะต้องทันต่อสถานการณ์ ผลิตเอง ขายเอง สร้างความมั่นใจกับผู้บริโภค

          สนใจการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ติดต่อ ‘’ ไร่แสนดี ‘’ มีกิ่งพันธุ์จำหน่ายราคาเป็นกันเอง หรือต้องการศึกษาดูงานเชิญครับ ยินดีต้อนรับทุกท่านที่มาเยือนด้วยความเต็มใจและเป็นกันเอง ทางเลือกใหม่ สำหรับท่านที่ต้องการเห็นผลเร็วๆ ไผ่ตอบโจทก์ได้

              บ้านหนองยาง ต. หัวขวาง  อ. โกสุมพิสัย จ. มหาสารคาม

             ( ทางไปโสกขุ่น – กุดรัง ) หรือติดต่อ

                                คุณละมัย                               081-1525453

                                คุณบรรจง                             086-3547883

ท่านที่ 5 คุณเสาวภา หมื่นแก้ว (คุณซ้อ)

คุณเสาวภา หมื่นแก้ว อายุ 35 ปี เจ้าของไร่เขยหล่าหมื่นแก้ว จ.มหาสารคาม บ้านหนองโดน หมู่ที่ 2 ต.นาโพธิ์ อ.กุดรัง จ.มหาสารคาม ก่อนจะเข้าสู่เกษตรกรในกลุ่ม Young Smart Farmer ในอดีตเคยเป็นสาวโรงงานมานานถึง 5 ปี โย้กย้ายงานมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ผู้ช่วยทำฟัน หมอเส้นสมุนไพร จนเข้าปีที่ 8 ผันตัวมาทำเกษตรทฤษฎีใหม่ตามรอยในหลวง ร.9 คุณซ้อได้ผันตัวเองมาเป็นเกษตรกรเนื่องจากว่าบิดาผู้ให้กำเนิดเป็นเกษตรกร และใช้ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลงเป็นประจำทำให้ป่วยเป็นโรคไตในถุงน้ำดี คุณซ้อจึงได้ลาออกจากงานที่เคยได้เงินดีมาก นั่นก็คือหมอเส้นสมุนไพร แล้วหวนคืนกลับบ้านเกิด หันมาทำเกษตร การทำเกษตรของคุณซ้อนั้น คุณซ้อมีแนวคิดว่าปลูกทุกอย่างที่กินได้ อะไรที่คนอื่นเขาไม่ปลูก สัตว์ประเภทไหนที่ฟาร์มอื่นเขาไม่เลี้ยง ที่นี่จะมีครบวงจร

การเริ่มทำเกษตรของคุณซ้อจะเริ่มปรับหน้าดิน เพราะดินที่ไร่เขยหล่าหมื่นแก้วนั้น จะเป็นดินทราย ขุดลึกลงไปจะเป็นหิน ทำให้ไม่สามารถปลูกไม้ยืนต้นได้ คุณซ้อจึงคิดและหาวิธีนำพืชมาปลูกในผืนดินที่ว่างเปล่าแห่งนี้ จะมีพืชชนิดไหนล่ะ ที่เหมาะกับดินประเภทนี้ จากนั้นคุณซ้อจึงลองนำกล้วยมาปลูก คุณซ้อบอกเสมอว่า การทำเกษตรไม่ว่าจะรูปแบบไหนก็ตาม ควรจะปรับปรุงดินที่ผ่านการใช้ปุ๋ยเคมีก่อน หรือถ้าเราไม่รู้ว่าจะปลูกอะไรดี ในช่วงที่รอนั้นอย่าปล่อยให้ผืนดินว่างให้นำต้นกล้วยมาปลูก เพื่อเพิ่มแร่ธาตุในดิน และเป็นการปรับปรุงดินก่อนที่จะปลูกไม้ยืนต้น พอปรับหน้าดินแล้วจากนั้นก็นำไม้ยืนต้นมาปลูกเสริม แซมในสวนกล้วยนั่นเอง

ในช่วงแรกที่ทดลองปลูกอะไร ก็เห็นทีจะไม่รอดเพราะพื้นที่รอบข้าง เป็นป่าอ้อยและจะมีการใช้ยาฆ่าแมลงอยู่เสมอ คุณซ้อถึงกับยอมรับเลยว่าในช่วงแรกๆ ได้นำปุ๋ยเคมีมาใช้ เพื่อเป็นการเร่งให้พืชโตเร็ว และสามารถปรับสภาพอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง พอพืชกำลังโตได้ที่ก็หยุดใช้ และทำเป็นเกษตรอินทรีย์ จนได้รับรองมาตรฐานเป็นสวนเกษตรอินทรย์ และในปีนี้เข้าสู่ปีที่ 8 ของไร่เขยหล่าหมื่นแก้ว เกษตรอินทรีย์

คุณซ้อศึกษาเรียนรู้การทำเกษตรมาเรื่อยๆ ครั้งหนึ่งได้ไปออกงานจิตอาสาของในหลวง ร.10 ที่จัดอยู่โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม จึงได้รู้จักกับท่านปราโมทย์ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เกษตรจังหวัด ท่านปราโมทย์ได้แนะนำให้สมัครเข้าเครือข่าย Young Smart Farmer คุณซ้อจึงได้ลองสมัครเข้าเครือข่าย ในเครือข่ายมีการจัดอบรม มีการให้ความรู้ แลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนๆ ในกลุ่มอยู่เสมอ ทำให้คุณซ้อรู้สึกว่า นี่ไม่ใช่แค่การทำไร่ทำสวนเหมือนแต่ก่อน แต่มันคือการยกระดับการทำเกษตร ให้ก้าวเข้าสู่ความยั่งยืน

จากวันนั้นถึงวันนี้ไร่เขยหล่าหมืนแก้วประสบความสำเร็จมากมาย ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตรขอยกตัวอย่างนางเอกของไร่เลย นั่นก็คือ “แป้งกล้วยชงดื่ม” สามารถใช้แทนครีมเทียม หรือจะชงดื่มเพื่อสุขภาพก็ได้สุขภาพดีไปเต็มๆ เพราะที่นี่จะใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ นอกจากแป้งกล้วยแล้ว ยังมีสินค้าทางการเกษตรอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นสบู่สมุนไพร มัลเบอร์รี่สกัดบำรุงสุขภาพ และอีกมากมาย สามารถแวะชมและอุดหนุนผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรได้ที่ไร่เขยหล่าหมื่นแก้ว ตั้งอยู่ที่ บ้านหนองโดน หมู่ที่ 2 ต.นาโพธิ์ อ.กุดรัง จ.มหาสารคาม

ก่อนทิ้งท้ายคุณซ้อยังฝากแนวคิดสำหรับผู้ที่สนใจอยากผันตัวมาเป็นเกษตรว่า จะทำเกษตรอย่างไรให้สุขภาพเราดี อายุมากขึ้นเรื่องสุขภาพต้องมาก่อนเสมอ คุณซ้อได้แนะนำให้ทำเป็นเกษตรผสมผสาน หากเป็นคนที่กำลังเหนื่อยท้อกับงานประจำที่ทำอยู่ ก็ลองเริ่มทดลองทำก่อน อยากทำอะไรทำเลย ไม่เริ่มตอนนี้จะเริ่มตอนไหน อย่าพึ่งลาออกจากงาน อันไหนที่ทำแล้วไม่รอด ก็ลองศึกษาและทดลองอย่างอื่น อย่าปิดกั้น ว่าตนเองจะทำไม่ได้ อย่างเช่น ถ้าพอมีที่ดิน ให้ลองแบ่งมาปลูกผักกินเอง ปลูกทุกอย่างที่เรากิน และกินทุกอย่างที่เราปลูก จะได้สุขภาพดีเพราะเป็นผักอินทรีย์ และสุขภาพของคนในครอบครัวก็จะดีไปด้วย ไม่ต้องเสี่ยงกับผักที่ใช้ปุ๋ยเคมี จากนั้นก็ค่อยๆ ขยับขยาย ไปสู่การเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น เลี้ยงกบ เลี้ยงปลา เลี้ยงหอย ก็ค่อยขยับขยายออกไปเรื่อยๆ

สำหรับท่านใดที่สนใจผลิตภัณฑ์ททางการเกษตร หรืออยากมีเครือข่าย และแนวคิดดีๆ ในการทำเกษตร สามารถติดต่อผ่าน Facebook Page เกษตรรุ่นใหม่ : TC RMU หรือติดต่อคุณซ้อโดยตรงได้ที่ Facebook ไร่เขยหล่า หมืนแก้ว หากสะดวกที่จะเดินทางไปเองก็ไปตามที่อยู่นี้เลยจ้าา >> บ้านหนองโดน หมู่ที่ 2 ต.นาโพธิ์ อ.กุดรัง จ.มหาสารคาม

ท่านที่ 6 คุณพีระชัย ธะนะสาร (คุณเฉิน)

คุณพีระชัย ธะนะสาร (คุณเฉิน) อายุ 42 ปี เจ้าของสวน พี.ที.ฟาร์มเกษตร จ.มหาสารคาม ก่อนจะผันตัวมาเป็นเกษตรกร และทำเกษตรทฤษฎีใหม่ คุณเฉินจบการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ในอดีตคุณเฉินเคยทำอาชีพเป็นพนักงานบริษัท รับสินค้านำเข้าจำพวกเครื่องครัวอยู่หลายปี

จากนั้นจึงได้ผันตัวเองมาเป็นเกษตรกร ด้วยความที่ชื่นชอบและมีโอกาสได้เดินทางไปในที่ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ เห็นการทำเกษตรในรูปแบบต่างๆ จึงเล็งเห็นว่าการทำเกษตรเป็นอาชีพที่ยั่งยืน ทำให้มีกินมีใช้ และตนเองก็มีพื้นฐานในการทำเกษตรอยู่แล้ว แต่ยังไม่มีโอกาสได้ลงมือทำอย่างจริงจังเพราะต้องทำงานประจำ พอทำงานประจำได้สักระยะหนึ่งจึงได้ค้นพบแล้วว่า สิ่งที่ตนเองกำลังทำอยู่ งานประจำที่ทำนั้น ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง จึงได้ลาออกจากงานมาทำเกษตร เพราะคิดมาเสมอว่าการทำเกษตร หรือการเป็นนายตัวเอง คือความสุขที่แท้จริง

คุณเฉินได้ศึกษาวิธีการทำเกษตร และลงมือทำมาเรื่อยๆ จนได้รู้จักกับเกษตรตำบล นั่นก็คือท่านหัวหน้าแก่น ท่านได้ลองชักชวนเข้ามาเป็นสมาชิกในกลุ่ม Young Smart Farmer เพราะเห็นว่าคุณเฉิน มีความรู้ความสามารถในการทำเกษตร และมีความรู้เรื่องกระบวนการแปรรูปสินค้าทางการเกษตร ทำให้สามารถนำไปต่อยอดได้ การที่เข้ามาเป็นสมาชิกในกลุ่ม Young Smart Farmer ในกลุ่มก็จะมีเครือข่าย มีเพื่อนๆ ในกลุ่มที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล วิธีการแก้ปัญหา ที่เกิดจากการทำเกษตร ให้กับสมาชิกในกลุ่ม และแลกเปลี่ยนเทคนิคดีๆ ในการทำเกษตรเสมอ อย่างเช่น การแปรรูปเห็ดนางฟ้า ที่มีเคล็ดลับเฉพาะของสวน พี.ที. ฟาร์ม ที่หาจากที่ไหนไม่ได้ และยังได้ส่งออกสินค้าถึงต่างประเทศ

แนวคิดการใช้ชีวิตที่มั่นคงของคุณเฉินคือ ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นมรดก และหลักการพึ่งพาตนเองของในหลวง ร.9 คุณเฉินได้ศึกษาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จนได้เข้าใจถ่องแท้ และสามารถปฏิบัติได้ จึงนำแนวคิดนี้มาประยุกต์ใช้ และเล็งเห็นว่าการทำเกษตรเป็นรากฐานที่มั่นคงที่สุด ทำให้ได้อยู่ร่วมกันกับครอบครัว และทำให้ครอบครัวมีความสุข อยู่บนพื้นฐานความพอเพียง

สำหรับท่านใดที่กำลังลังเล หรือเหนื่อยกับงานประจำที่กำลังทำอยู่ คุณเฉินได้ฝากถึงทุกท่านว่า อยากให้ลองเปิดใจ และศึกษาการทำเกษตรอย่างจริงจัง ทำเกษตรอย่างง่ายๆ คุณเฉินแนะนำว่า

  1. ให้ดูพื้นที่ของตนเองก่อนว่าสามารถสร้างประโยชน์อะไรได้บ้าง
  2. ดูความต้องการของตนเอง ว่าต้องการทำเกษตรไปในรูปแบบใด
  3. ดูทรัพยากรที่พอมี ว่าจะสามารถต่อยอดได้อย่างไร

เพียงเท่านี้ เราก็สามารถทำเกษตรอยู่บนพื้นฐานความพอเพียงได้แล้ว สำหรับท่านใดที่สนใจเทคนิค และวิธีการทำเกษตร สามารถติดต่อผ่าน Facebook Page เกษตรรุ่นใหม่ : TC RMU หรือติดต่อคุณเฉินได้โดยตรงที่ 062-6355678 หรือหากท่านใดสะดวกที่จะเข้าชมสวน พี.ที.ฟาร์ม ก็สามารถไปตามที่อยู่นี้ได้เลยจ้า >> บ้านกุดนาดี หมู่ 5 ต.หนองแสน อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม 44120 อย่าลืมเข้าไปอุดหนุนเห็ดสมุนไพรพบรัก ของฝากสำหรับคนรักสุขภาพกันน๊าาาา

ท่านที่ 7 คุณรัสมี ข้อสกุล (คุณรัส)

คุณรัสมี ข้อสกุล หรือคุณรัส อายุ 34 ปี เจ้าของสวนฮักเกษตร อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม ก่อนจะผันตัวเข้ามาเป็นเกษตรกร ในกลุ่ม Young Smart Farmer ในอดีตเป็นพนักงานบริษัท ทำงานในเมืองกรุงเหมือนกับเด็กสาวทั่วๆ ไป ทำงานมาจะเข้าปีที่ 10 ทำให้พี่รัสกลับมาย้อนดูตัวเองว่าอยู่จุดนี้ มีความก้าวหน้ามากแค่ไหน มันทำให้ชีวิตเราดีขึ้นไหม พอได้คิดทบทวนแล้วคุณรัสจึงได้ผันตัวเองกลับมาบ้านเกิด พร้อมกับสามี คุณรัสเล่าว่าในส่วนตัวเป็นคนไม่ชอบทำเกษตร เพราะโดนแดด โดนอากาศร้อน แต่เมื่อได้ลองทำก็รู้สึกมีความสุขไปกับสิ่งที่ทำ และได้พัฒนาสู่อาชีพหลักล้านในปัจจุบัน

ในช่วงแรกคุณรัสเล่าว่าไม่รู้จะทำเกษตรไปในทิศทางไหน ถ้าจะปลูกผักเลี้ยงปลา ก็จะเหมือนเกษตรรูปแบบเดิมๆ จึงได้ย้อนคิดว่าในบ้านเรา สวนเรา มีอะไรที่เด่นๆ และแตกต่างจากที่อื่นบ้าง และแล้วก็พบว่าพืชผักที่แตกต่างสามารถต่อยอดได้นั่นคือ กระเจียวหวาน

ฉีกกฎการทำเกษตรปลูกผักเลี้ยงปลาแบบเดิมๆ เพราะต่อมาดอกเจียวหวานได้ทำรายได้ให้กับครอบครัวถึงหลักล้าน (นับเป็นฤดูกาล) จึงได้คิดที่จะต่อยอดเพื่อให้ได้รายได้เพิ่มขึ้นมา จึงได้นำประทุมมามาปลูกและขายพันธุ์ ในปัจจุบันสวนฮักเกษตรมีรายได้จากการขายพันธุ์ ดอก และยอดกระเจียวหวานที่สร้างรายได้ถล่มทลาย เพราะเป็นสิ่งที่ตลาดกำลังขาดแคลน อีกทั้งสวนฮักเกษตรมีพื้นที่ ที่สวยงาม สามารถเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยว ให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาชมความงดงามของดอกกระเจียว พอนักท่องเที่ยวเหล่านั้นได้เข้ามาเยี่ยมชม ก็ไม่วายที่จะซื้อกระเจียวหวานติดไม้ติดมือไปประกอบอาหาร

สำหรับแนวคิดการทำเกษตรของคุณรัส คุณรัสบอกกับทางทีมงานว่า อาชีพเกษตรเป็นสิ่งที่อยู่ในสายเลือด เหมือนเป็นสิ่งที่เราผูกพันมาแต่เด็ก สามารถทำได้ แต่ถ้าเราจะคิดว่าจะทำเกษตรตามกระแสให้เลิกคิด เพราะมันค่อนข้างที่จะอยู่ยาก การตลาดต้องดี ในการริเริ่มครั้งแรกให้ลองมองย้อนกลับมาที่สวนของเรา หรือพื้นที่ของเราว่าพอมีอะไรที่เป็นจุดเด่นและสามารถต่อยอดได้บ้าง ให้ค่อยๆ ทำไปทีละนิด ก้าวไปทีละน้อย อย่าลงทุนเยอะเพราะการเสี่ยงขาดทุนมันมีแนวโน้มสูง การที่คุณรัสได้คิดที่จะทำสวนดอกกระเจียว นั่นก็เพราะว่า ชอบอะไรที่แปลกใหม่ ที่คนทำน้อยที่สุด เพราะจะเป็นการลองทดลองตลาดไปด้วย ซึ่งในอ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม ยังไม่มีสวนดอกกระเจียว จึงได้เริ่มทำจากสิ่งที่ยังไม่มีในพื้นที แต่ไม่ใช่ว่า จะนำสิ่งที่ไม่มีคนกิน ไม่มีคนใช้ อันนี้ก็ไม่ถือว่าแปลกใหม่ ให้ทดลองตลาดดูก่อนพอการตอบรับดี ค่อยต่อยอดออกไปเรื่อยๆ

สิ่งที่อยากฝากถึงผู้ที่สนใจคือ ตัดสินใจเริ่มต้นให้ได้ก่อน แล้วหาความชอบ ถ้าเรายังไม่เริ่มทำ เราจะไม่สามารถรู้เลยว่าสิ่งที่ทำอยู่ มันใช่ตัวตนของตัวเองไหม ดังนั้น ควรตัดสินใจเริ่มต้นมันให้ได้ แล้วลองมองย้อนกลับไปที่พื้นที่ของตนเองว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง แต่ถ้ากำลังสนใจกระเจียวหวาน ก็สามารถปรึกษาการทำเกษตรกับคุณรัสได้ที่ ติดต่อผ่าน Facebook Page เกษตรรุ่นใหม่ : TC RMU หรือติดต่อคุณรัสโดยตรงได้ที่ Facebook รัสมี ข้อสกุล และ Facebook page ปทุมมา ทิวลิปสยาม บัวสรรค์-โดยสวนฮักเกษตร หากสะดวกที่จะเดินทางไปเองก็ไปตามที่อยู่นี้เลยจ้าา >> บ้านยางสินไชย ต.เหล่า อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม โทร. 094-9356426 อย่าลืมแวะไปเที่ยว และอุดหนุนกระเจียวหวานสดใหม่ ได้ที่สวนฮักเกษตรนะคะ

ท่านที่ 8 คุณกฤษณาพร ศรีนวล (คุณบุ๋ม)

There are currently no posts to display.


Follow My Blog

Get new content delivered directly to your inbox.